วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

พระพิฆเนศ และพิธีการบูชาแบบชาวฮินดูแท้ ๆ อินเดีย

เทศกาล บูชา พระพิฆเนศ นั้น สำหรับ คนอินเดียแล้ว โดยเฉพาะทาง รัฐทมิฬนาดู กับ รัฐอันดราประเทศ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เทศกาลหนึ่งเลยก็ว่าได้ จะเริ่มเทศกาลในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 หรือวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 เรียกเทศกาลนี้ว่า คเนศจตุรถี หรือ วันประสูติของพระพิฆเนศ นั้นเอง



คนอินเดียมี ความเชื่อกันว่า วันนี้ คือ วันที่ พระพิฆเนศ ทรงลงมามายังโลกมนุษย์ เพื่อประทานพรแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา ในองค์ท่าน ที่ สวดบูชา ขอพร จะได้ สมหวัง ดั่งใจปรารถนา ส่วน ปาง ของ พระพิฆเนศ ทีนิยมนำมาทำเป็น เทวรูป ไม่แน่ใจว่าใช้ ปาง ไหน เพราะ เห็น เกือบทุกปาง


บรรยากาศ การบูชา  จะมีพระพิฆเนศ  1 องค์ ปั้นจากดินทราย และก็จะมี พรหมร์  1 คน เป็นผู้ทำพิธี สวดมนต์บูชา   ข้างหน้า ปรัมพิธี จะมีการโรยสีต่าง ๆ วาดเป็นรูป คล้าย ๆ ดอกไม้ อย่างสวยงาม ทีเดียว


ผู้หญิงที่มารอ สักการะ หรือ มาร่วมงานในพิธี จะแต่งตัว ตามประเพณีโบราณ  คือ นุ่งสาหรี  มีสีสรรค์ที่สวยงาม  เรื่อนผม ตกแต่งด้วยดอกไม้


ของที่จะนำมาสังเวยบูชา ไม่ได้จำกัด ยกเว้นเนื้อสัตว์ มี  กำยาน, ตะเกียงน้ำมัน , ดอกไม้สีสันสดใส, กล้วย, อ้อย, มะพร้าวอ่อน, ผลไม้ต่างๆ ตามฤดูกาล,  น้ำ, นม, ธัญญาหาร, ขนมหวาน  ไม่รู้ว่า เขาเรียกว่าอะไร   และ ใบไม้ ที่เห็น ก็มี ใบมะม่วง นี้ล่ะ ห้อย กันเป็น สายยาวเลย 


เมื่อทำการขอพร กันหมดแล้ว ก็ถึงเวลา เคลื่อนย้าย เทวรูป พระพิฆเนตร ไปลงน้ำ เป็นอันว่า เสร็จพิธี การบุชา พระพิฆเนศ  ส่วนการบูชา ที่ เห็นเกือบทุกปี จะบูชาอยู่ ประมาณ 9 วัน แค่นั้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น